วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เรียนไม่เก่ง เกรดไม่ดี แล้วหนูจะทำงานอะไร ?


.
ความในใจจากพี่….ที่อยากบอกกับน้องๆ ทุกคน
.
ช่วงนี้ผลคะแนนของน้องๆ ก็เริ่มทยอยออกกันแล้วล่ะ เนอะ (^^) คงจะมีทั้งรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และรอยน้ำตา ปะปนกันไป แต่ขอให้น้องๆ ทุกคนจงยอมรับในสิ่งที่น้องๆ ได้รับ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันมาจากการกระทำของเราเองนะ
.
ในฐานะที่พี่ได้เข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริงไปก่อนน้องๆ พี่ก็เลยอยากจะเอาประสบการณ์บางอย่างที่พี่ได้รับมาแบ่งปันให้น้องๆ ได้รู้กันล่วงหน้า เผื่อจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการเรียน หรือวาดผังชีวิตกันต่อไปนะครับ
.
ในระหว่างนี้น้องๆ หลายคนคงประสบปัญหาถึงเรื่องเกรดเฉลี่ยกันอยู่ใช่มั้ย? คำถามหลายคำถามจากคนรอบตัวคงพุ่งเข้ามาหาเราแล้วว่า “แล้วจบไปที่ไหนเขาจะรับ” วันนี้พี่เลยอยากจะมาเล่าในอีกด้านหนึ่งของโลกการเรียนและโลกการทำงาน เพื่อพิสูจน์ให้น้องได้เห็นว่า
.
“เราไม่จำเป็นต้องทำงานตามสายที่เราเรียน”
และ
“เราไม่จำเป็นต้องมีเกรดที่ดีถึงจะมีหน้าที่การงานที่ดี”
.
.
เกรดเฉลี่ย ไม่ใช่ที่สุดของชีวิตนะ เพราะความหมายของเกรดเฉลี่ยที่แท้จริง มันเป็นแค่เพียง เครื่องมือในการวัด “ความถนัด” และ “ความขยัน” ของเราเท่านั้น แต่การที่จะได้เกรดเฉลี่ยที่ดีนั้น ไม่จำเป็นเลยว่าเราจะต้องมีทั้ง “ความถนัด” และ “ความขยัน” เราอาจจะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้ เหมือนที่บางคนเคยบอกว่า ก็ไม่ได้อ่านหนังสือนะ แต่ได้เกรด A สาเหตุที่เขาได้อาจจะเกิดได้สองอย่าง คือ “เค้าถนัดวิชาเหล่านั้นอยู่แล้ว” หรือว่า “เค้าไปแอบขยัน”
แต่เวลาที่เราได้เกรดแย่ๆ มาเนี่ย หลายคน มักจะสติแตก เหนื่อย เบื่อ ท้อ โวยวาย เซงเป็ดเซงไก่ไปเรื่อย เราต้องตั้งสตินะ ทบทวนตัวเองให้ได้ว่า พฤติกรรมที่เราทำลงไป มันสมควรกับสิ่้งที่เราได้ัรับแล้วหรือไม่? ถ้าคิดว่าสมควรแล้ว ก็ลองอ่านในสิ่งที่พี่จะพูดต่อไปนี้นะ
ส่วนตัวพี่ก็จบมาเกรดไม่ถึง 2.5 ด้วยซ้ำ (ได้เกรดเฉลี่ย 2.37) แต่พี่ยืนยันเลยนะว่า ชีวิตการทำงานที่แท้จริงนั้น เกรดไม่ใช่เรื่องที่สำคัญเสมอไปหรอก หลายบริษัทในประเทศไทยและต่างประเทศ (โดยเฉพาะด้าน IT) ถึงแม้ว่าจะเรียนไม่จบก็รับ เกรดเฉลี่ยห่วยก็รับ
.
ว่าแต่ทำไมเค้ารับหรอ? เพราะเค้ามองอีกสิ่งหนึ่งในตัวคน
คือ คำว่า “Positive Thinking” ไงล่ะ !
.
.
องค์กรหลายองค์กรมองว่า “ความเก่ง” ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ของการรับพนักงานใหม่เข้าทำงาน “ความเก่ง” สามารถสร้างกันได้ แต่ “ความคิดดีๆ” มันต้องเป็นสิ่งที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เลยทำให้องค์กรเลือกที่จะมองคนที่มี ทัศนคติ (Attitude) ที่ดี เป็นคนมีน้ำใจ (generousness) มีความซื่อสัตย์ (loyalty) ความพยายาม (effort) ในการเรียนรู้ และ ความอดทน (patience) มากกว่าครับ
.
คนที่มีความสามารถ ไม่จำเป็นต้อง “มีเกรดเฉลี่ยที่ดี”
แต่ต้องเป็นคนที่สามารถ “เรียนรู้ได้” และมีคุณสมบัติพื้นฐานดังที่ได้กล่าวมา
.
เพราะเอาเข้าจริง เวลาไปทำงานเราอาจจะต้องเรียนรู้ใหม่เกือบทั้งหมด ความรู้ในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงพื้นฐานสำหรับการนำไปต่อยอดเท่านั้น แต่สิ่งที่เราจะต้องสั่งสมให้มีตั้งแต่มหาวิทยาลัย คือ การเข้ากับคนอื่นให้ได้เพราะสังคมการทำงานเป็นสังคมที่ต้องไปเจอคนใหม่ๆ อยู่เสมอ 
.
.
เพราะฉะนั้น พี่เลยโยงมาถึงอีกเรื่องหนึ่ง คือ สิ่งที่พี่เคยบอกน้องๆ อยู่เสมอว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ คือ เรื่อง “การทำกิจกรรม” กิจกรรมมันจะมอบสิ่งที่พี่กล่าวมาทั้งหมดให้กับเรามากเลย นะ หรือมันอาจจะให้อะไรหลายอย่างมากกว่าที่พี่บอกพวกเราอีก
.
แต่ยังไง “เกรด” ก็ต้องประคองให้จบให้ได้ ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญแล้วจะทิ้งกันเลยนะ ถึงเกรดไม่ใช่ทุกอย่าง แต่ถ้าเกรดตกต่ำจนเกินไปก็จบเห่เหมือนกัน!
.
.
วิธีการในการเตรียมตัวมีดังต่อไปนี้
.
.
1. หาตัวเราเองให้เจอ เน้นวิชานั้นให้ได้เกรดโหดๆไปเลย
ส่วนตัวพี่เป็นคนชอบวิชาด้าน Security มาก พี่เน้นเลย ยังไงตัวนี้ก็ต้อง A ให้ได้ ทุ่มเท อ่านตำราให้มาก และให้แม่นที่สุด
.
ประเด็นถัดไป ยกตัวอย่างเช่น เราเรียน Com-Sci มันไม่จำเป็นนะว่าเราจบไปต้องเป็นโปรแกรมเมอร์เท่านั้น หรือแม้ว่าเราเรียน Network จบไปจะต้่องเป็น Engineer เท่านั้น
.
น้องอาจจะไปเดินทางสายอื่นก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น Network, Security, System Analyst, Database, Computer Graphic, IT Management ทุกมหาวิทยาลัยออกแบบหลักสูตรให้มีความกว้างเพียงพอ ที่จะเป็นเส้นทางหลายแยก ให้เราก้าวไปตามใจที่ต้องการได้ 
.
(อย่างพี่จบ CS ไปตอนนี้ก็ไปทำด้าน IT Consult : คือเป็นตัวกลางระหว่าง Developer กับ User คอยรับ Requirement จาก User มา เพื่อสื่อให้ Developer เ้ข้าใจ และทำงานตามที่ลูกค้าต้องการได้) ซึ่งไม่ึค่อยได้ใช้ความสามารถทางด้าน Coding เท่าไร แต่ก็เอาตรรกะที่ได้เรียนจากโปรแกรมมิ่งไปใช้พอสมควร (และต้องคุยกับลูกค้าให้รู้เรื่องด้วย 55)
.
(การคุยกับลูกค้าถือว่าเป็นงานยากสำหรับ Developer มากกว่าการ Coding เลยทีเดียว)
.
2. พยายามหาความรู้เพิ่มเติมจากภายนอก
หลังจากทำตามวิธีแรกแล้ว พยายามไปหาอะไรอ่านเพิ่มเติม เดี๋ยวนี้หาอ่านง่ายมาก มีทั้ง Free E-Book เยอะแยะไปหมด หาจากบิต หรือ Google ก็ได้เยอะแยะนะ และเดี๋ยวนี้สะดวกสบายกว่าเมื่อก่อนมาก พวกที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้เขาเล่น Social Network กันทั้งนั้น โดยเฉพาะตัวที่พี่อยากจะแนะนำเลย คือ “Twitter”
.
ส่วนตัวพี่ ตาม Follow พวก Computer Expert ของต่างประเทศ เพื่อรับข่าวสาร และเทคโนโลยีใหม่ๆ จากพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งมันช่วยให้เราได้ความรู้ที่ใหม่และหลากหลายเยอะมากๆ เพราะบางครั้ง ความรู้ในตำราเรียน ก็อาจจะไม่ได้ Update ทันสมัย เท่าความรู้จากแหล่งเหล่านี้
.
3. ประคองวิชาอื่นๆ ให้ผ่านไปให้ได้ 
พอเราชัดเจนในอาชีพที่เราจะทำ เราจะไม่ต้องเสียเวลาไปศึกษาอย่างอื่นเลย วิชาอื่นๆ ก็ประคองให้พอผ่านไปได้ ไม่ให้มัน F ก็พอ วิธีการนี้มันจะช่วยให้น้องทุ่นแรงในการศึกษาไปได้มาก และทำให้น้องเชี่ยวชาญในทางนั้นอย่างเทพ!
.
.
4. ฝึกงาน หางานพิเศษทำก่อนเรียนจบ
พอเราหาความเชี่ยวชาญในตัวเองได้ พยายามหาที่ฝึกงาน (อาจจะไม่ต้องเป็นตามตารางฝึกงานก็ได้ ไปหางานทำ P/T ที่มันตรงกับอาชีำพที่เราอยากจะเป็น พยายามทำงานให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนจะเรียนจบ ได้เงินไม่ได้เงินก็ทำไปเหอะ เพราะถึงแม้ว่าน้องจะไม่ได้เงิน แต่สิ่งที่น้องได้แน่ๆ คือ “ประสบการณ์” มันจะช่วยให้ Resume พวกน้องๆ เวลาไปสมัครงานสวยขึ้นมาเลยนะ และถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้ารับทำงานยิ่งกว่าเกรด มันส่งผลให้ได้งานง่ายขึ้นจริงๆ ^^)
พี่หวังว่าแนวทางเหล่านี้จะช่วยเหลือน้องทุกคนได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ขอให้น้องๆ โชคดี กับชีวิตในมหาวิทยาลัยที่เหลืออยู่ :)

ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก : pearless : http://pearless.citec.us